วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

ิbuddhasilapa : พระกริ่งเพชรกลับ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม วัดตาลกง


พระกริ่งเพชรกลับ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม วัดตาลกง

โดย...ชายนำ ภาววิมล...

      ในบรรดาพระกริ่งรุ่นต่างๆ ที่สร้างขึ้นในนามของหลวงพ่ออุ้น สุขกาโม วัดตาลกง พระกริ่งเพชรกลับเป็นพระกริ่งสำคัญที่ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงมากนัก มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารกันบ้าง ก็เป็นเพียงภาพเล็กๆ ในหนังสือภาพพระเครื่องที่ทางวัดตาลกงมอบหมายให้นิตยสารพระเกจิจัดพิมพ์ขึ้น พระกริ่งเพชรกลับเป็นสุดยอดพระกริ่งสำนักวัดตาลกงที่ศิษย์สายตรงที่รู้ข้อมูลประเภทเจาะลึก ต่างหวงแหนและเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดียิ่ง เพราะเป็นพระกริ่งที่มีจำนวนการสร้างน้อยมาก จัดสร้างขึ้นโดยหนึ่งในกรรมการอำนวยการจัดสร้างพระบรมรูปจำลองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสครบรอบสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ ๕๐ ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่เคารพศรัทธาหลวงพ่ออุ้น สุขกาโม และเป็นตัวตั้งตัวตีในการนิมนต์ท่านไปอธิษฐานจิตแผ่เมตตาในพิธีชัยมังคลาภิเษก ที่ห้องประชุมสมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนั้น นักนิยมพระเครื่องทั่วไปยังไม่รู้จักมักคุ้นกับชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงพ่ออุ้น สุขกาโม เลย ที่สำคัญยิ่ง คือ เนื้อหามวลสารที่ใช้สร้างพระกริ่งรุ่นนี้ เป็นชนวนล้วนๆ ไม่มีส่วนผสมของโลหะอื่นๆ จึงมีจำนวนการสร้างเพียงไม่กี่องค์



พระกริ่งสะดุ้งกลับ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม วัดตาลกง ปี ๒๕๔๔ เนื้อชนวน

พระกริ่งเพชรกลับ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม วัดตาลกง เป็นหนึ่งในวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นในช่วงที่ผู้สร้างเริ่มรู้สึกอิ่มตัวกับวงการพระเครื่องที่ตนเคยมีบทบาทในหลายด้านและหันไปสนใจทุ่มเทให้กับงานศึกษาวิจัยด้านการบริหารจัดการภาครัฐ โดยมีมูลเหตุจูงใจในการสร้างพระกริ่งชุดนี้ คือ มีชนวนดีๆ ที่เก็บไว้ รายการ คือ 

๑) ก้านชนวนพระบรมรูปจำลองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเททองเป็นปฐมฤกษ์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ จำนวน องค์ โดยมีพระครูวามเทพมุนีเป็นเจ้าพิธี 
๒) โลหะก้นเบ้าเนื้อนวโลหะที่เหลือจากการหล่อพระกริ่งสายวัดสุทัศน์เทพวราราม ที่ได้รับจากช่างสฤษดิ์ สามนกฤษณะ หรือช่างหริ น้ำหนักประมาณ ๔ - ๕ กิโลกรัม 

ทั้งไม่อยากเก็บโลหะชนวนดังกล่าวไว้เป็นภาระต่อไปในอนาคตและมีงานสร้างพระเครื่องที่ปารวนาว่าจะจัดสร้างถวายหลวงพ่ออุ้น สุขกาโม อีกสองพิมพ์ จึงตัดสินใจนำชนวนทั้งสองรายการดังกล่าวมาสร้างพระกริ่งแบบโบราณ คือ หล่อด้วยกรรมวิธีที่เรียกกันว่า “เทมือเบ้าปูน” เททองโดยช่างหริ โรงหล่อหลังวัดไชยทิศ

การจัดสร้างพระกริ่งเพชรกลับครั้งนี้เป็นการหล่อพระกริ่งแบบทิ้งทวนด้วยเหตุผลหลัก ประการ คือ 

๑) นำโลหะชนวนทั้งสองรายการผสมกับชนวนเก่าที่เก็บสะสมมานานกว่าสิบปี อาทิ ชนวนพระรุ่นต่างๆ ของหลวงพ่อแช่ม ฐานุสสโก วัดดอนยายหอม, หลวงปู่คำ สุวณฺณโชโต วัดหนองแก, พ่อท่านคล้อย ฐานธมฺโม วัดถ้ำเขาเงิน, หลวงพ่อเพชร จนฺทวํโส วัดบ้านกรับ, หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม มาหลอมรวมและหล่อพระกริ่งจนเหลือเพียงก้านเดียวและไม่สามารถจะทำการหล่อต่อไปได้ 
๒) การเททองหล่อพระกริ่งเพชรกลับครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้สร้างกับช่างหริเป็นครั้งสุดท้าย อายุช่างหริในขณะนั้น ใกล้จะครบ ๗๒ ปี แม้ร่างกายและใจยังสู้ แต่สังขารเริ่มไม่เอื้อต่อการทำงานหนักที่ต้องอยู่กับเตาหลอมโลหะซึ่งมีความร้อนสูงแบบเดิม จึงขอให้ช่างหริเททองหล่อพระกริ่งครั้งนี้แบบสุดฝีมือ โดยมี เนื้อ คือ
  
   ๒.๑ เนื้อชนวนพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ฯ จัดเป็นเนื้อหลักของพระกริ่งชุดนี้ สร้างขึ้นจากชนวนพระกริ่งนวโลหะแบบเต็มสูตรของวัดแห่งหนึ่งที่จัดสร้างพระกริ่งในสายวัดสุทัศน์ฯ ซึ่งผู้สร้างได้รับมอบเนื้อชนวนนี้จากช่างหริ ผสมกับชนวนพระต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ชนวนโลหะที่มีอยู่สามารถหล่อพระกริ่งได้เพียง ๗๙ องค์ วรรณะสีผิวออกแดง องค์ที่ผ่านการสัมผัสบ่อยๆ และถูกอากาศเป็นประจำ จะกลับดำเร็วกว่าปกติ ใต้ฐานตอกโค้ดและหมายเลขกำกับทุกองค์







    ๒.๒ เนื้อชนวนหล่อพระบรมรูปจำลองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเนื้อพิเศษสุดของพระกริ่งชุดนี้ สร้างขึ้นจากก้านชนวนหล่อพระบรมรูปฯ ผสมกับนวโลหะที่เหลือจากการหล่อพระกริ่งชุดแรก หล่อพระกริ่งได้เพียง ๒๕ องค์ วรรณะสีผิวออกเหลืองอมแดง ด้านหลังตอกโค๊ดรูปพระเกี้ยวเพื่อแยกแยะให้เห็นความแตกต่างระหว่างเนื้อทั้งสองแบบ ใต้ฐานตอกโค้ดและหมายเลขกำกับทุกองค์

ด้านพิธีกรรม 
หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยววันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งเป็นวันดีที่สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ฯ นิยมใช้เททองหล่อพระกริ่งเป็นประจำทุกปี วัตถุมงคลอื่นๆ ที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวในพิธีนี้ ประกอบด้วย 

๑) พระพิมพ์สมเด็จขี่เสือ เนื้อสัมฤทธิเดช จำนวน ๓๐๐ องค์ 

๒) เหรียญพระพรหม รุ่นแรก เนื้อนวโลหะสูตรพิเศษ ๑๖ เหรียญ เนื้อเงิน ๔๙ เหรียญ เหรียญอัลปากา ๙๙๙ เหรียญ



๓) เสือหล่อ 





         ที่ผ่านมา พระเครื่อง/วัตถุมงคลชุดนี้ ยังนิยมเล่นหาในวงจำกัดเนื่องจากจำนวนการสร้างมีน้อยมาก ข้อมูลต่างที่เป็นเกี่ยวเนื่องกับการจัดสร้าง ถูกเก็บเงียบมานาน ไม่ได้นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ประกอบกับทางเลือกในการสะสมเล่นหาวัตถุมงคลที่สร้างในนามของหลวงพ่ออุ้น สุขกาโม มีมากจนยากที่ใครคนใดคนหนึ่งยากจะตามเก็บได้อย่างทั่วถึง จึงเป็นเรื่องปกติที่วงการพระเครื่อง มองข้ามพระเครื่องและวัตถุมงคลที่ไม่มีการหมุนเวียนให้เล่นหากันในวงกว้าง แต่เมื่อเวลาผ่านไป ศิษย์สายตรงที่ติดตามข้อมูลข่าวสารและสะสมเล่นหาวัตถุมงคลของหลวงพ่ออุ้น สุขกาโม กลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่ง ซุ่มเก็บพระชุดนี้เงียบๆ แต่สู้ราคาไม่ถอย เหตุผลหลักที่ประมวลได้ คือ เนื้อหามวลสารและรูปแบบที่จัดสร้างมีความโดดเด่น ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระกริ่งสายอื่นๆ ที่วงการพระเครื่องนิยมเล่นกันเป็นสากล ศิลปะก็งดงามสวยซึ้งแบบพระหล่อโบราณที่สำนักต่างๆ ในยุคสมัยนี้ไม่ค่อยนิยมทำกัน เพราะมีกระบวนการสร้างที่ยุ่งยากซับซ้อน หากช่างหล่อไม่มีฝีมือหรือความชำนาญจริงๆ โอกาสที่พระจะชำรุดเสียหายมีมาก ถ้าจะพูดกันแบบตรงไปตรงมาคือ พระกริ่งเพชรกลับน่าจะเป็นพระกริ่งในตำนานพระเครื่องของหลวงพ่ออุ้น สุขกาโม ที่นักนิยมพระเครื่องสายนี้มีโอกาสสัมผัสและพบเห็นน้อยมาก นิยมเล่นหาอยู่เฉพาะในกลุ่มแฟนพันธุ์แท้ของนิตยสารพระเกจิที่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารแบบเจาะลึก ชอบพระกริ่งที่สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ และมีความเชื่อถือในตัวของลูกศิษย์ผู้สร้างถวาย ส่วนเหรียญพระพรหม แม้จะเป็นงานตามสมัยนิยม แต่ก็เป็นงานระดับมืออาชีพของช่างตุ้มหรือโสภณ ศรีรุ่งเรือง ที่สามารถวางสัดส่วน ช่วงระยะ (Space) ของเหรียญได้อย่างลงตัว สวยงามคมชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น