วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

buddhasilapa เหรียญเสมาหลวงพ่อผิว อภิชาโต วัดประดู่ทรงธรรม

เหรียญเสมาหลวงพ่อผิว อภิชาโต วัดประดู่ทรงธรรม

โดย...ชายนำ ภาววิมล...

     เหรียญรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์เป็นพุทธศิลป์อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเล่นหากันอย่างกว้างขวาง โดยมีลักษณะของเหรียญเด่นๆที่มีการนำมาใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบเหรียญรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ยุคปัจจุบันเพียงไม่กี่แบบ หลายสำนักมีแบบอย่างของเหรียญที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง อาทิ วัดดอนยายหอมมีเหรียญเสมาหลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ รุ่นแรก ซึ่งเป็นเหรียญยอดนิยมที่ทางวัดดอนยายหอม รวมตลอดทั้งวัดต่างๆที่นำมาเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์เหรียญรูปเหมือนครึ่งองค์ของพระเกจิอาจารย์ยุคสมัยต่อๆมาอย่างกว้างขวาง ใช้กันจนลืมว่าเหรียญต้นแบบคือเหรียญใด สายเมืองกรุงเก่าก็มีเหรียญเสมารูปเหมือนเต็มองค์ที่มีการล้อศิลปะและปรับใช้ในการออกแบบเหรียญเสมารูปเหมือนแบบเต็มองค์พระเกจิอาจารย์ไม่น้อยไปกว่าเหรียญเสมาหลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ วัดดอนยายหอม เหรียญเมืองกรุงเก่าดังกล่าวคือเหรียญเสมาหลวงพ่อขัน อินทปญฺโญ วัดนกกระจาบ ต.วัดนก อ.บางบาล จ.พระนครศรี อยุธยา ศิษย์สำนักพุทธาคมวัดประดู่ทรงธรรม แบบอย่างของเหรียญทั้งสองเป็นอมตะศิลป์ที่มีความงดงาม ไม่โฉบเฉี่ยวเหมือนเหรียญศิลปะนูนสูง ซึ่งอยู่ในกระแสความนิยมของนักนิยมพระเครื่องยุคสมัยนี้ แต่แลซึ้งตา ไม่จืดไวเหมือนเหรียญพระเกจิอาจารย์ที่มีความคมชัดลึก มีความเหมือนเพราะใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยียุคใหม่ที่เรียกว่า Digital art เข้ามาช่วยสร้างสรรค์งานศิลปะยุคใหม่ 

ความเป็นมาในการสร้างเหรียญเสมาหลวงพ่อผิว อภิชาโต รุ่นหาปัจจัยสมทบทุนบูรณะสระน้ำศักดิ์สิทธิ์และปรับภูมิทัศน์เจดีย์พระบรมอัฐพระเจ้าทรงธรรม ๒๕๕๙

     เหรียญเสมาหลวงพ่อผิว อภิชาโต พระอธิการเจ้าสำนักวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอพระนครศรี อยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รุ่นหาปัจจัยสมทบทุนบูรณะสระน้ำศักดิ์สิทธิ์และปรับภูมิทัศน์เจดีย์พระบรมอัฐิพระเจ้าทรงธรรม เป็นเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อผิว อภิชาโต ที่ท่านมอบหมายให้อาจารย์สุรัตน์ สรงสระแก้ว เจ้าสำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดประดู่ทรงธรรม เป็นผู้ดำเนินงานจัดสร้าง มูลเหตุหลักที่มอบหมายเพราะอาจารย์สุรัตน์ สรงสระแก้ว ปรารภกับหลวงพ่อผิว อภิชาโต เรื่องความจำเป็นที่จักต้องบูรณะซ่อมแซม ปฏิสังขรณ์ และพัฒนาวัดประดู่ทรงธรรม ให้กลับมามีสภาพดั่งเดิม เพราะถาวรวัตถุและศาสนาสมบัติของวัดประดู่ทรงธรรมได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมในปี ๒๕๕๔ เป็นอันมาก หากปล่อยเวลาให้ผ่านไป ถาวรวัตถุและศาสนสมบัติเหล่านั้นย่อมเสียหายมากขึ้น ทั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่พระภิกษุสามเณรและสาธุชนที่มาทำ บุญกับทางวัดได้ 





     เมื่ออาจารย์สุรัตน์ สรงสระแก้ว ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากหลวงพ่อผิว อภิชาโต จึง ทาบทามบุคคลที่คาดหวังว่ามีศักยภาพในการช่วยงานตามที่หารือกับหลวงพ่อผิว อภิชาโต ให้สำเร็จลุล่วงไปตามความประสงค์ได้ จึงเชิญอาจารย์สีหวัชร ศิษย์ฆราวาสของหลวงพ่อพรห์ม ติสฺสเทโว วัดขนอนเหนือ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในสรรพศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธาคมสำนักวัดประดู่ทรงธรรม โดยคาดหวังว่าวันหนึ่ง อาจารย์สีหวัชรจักเป็นคนสำคัญในการรวบรวมและสอบทานสรรพวิชาต่างๆ ก่อนการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมเมืองกรุงเก่าที่เกี่ยวเนื่องกับสำนักวัดประดู่ทรงธรรม และผู้นำเสนอบทความนี้ เพื่อช่วยงานด้านการวางแนวคิดงานพัฒนา(ผู้นำเสนอเคยเป็นนักวิชาการอิสระที่สนใจงานพัฒนาที่ดึงจุดเด่นที่เป็นศักยภาพของแต่ ละพื้นที่มาใช้ประโยชน์เชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน) การวางแนวคิดเพื่อหาปัจจัย /การประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่จะดำเนินการในวันข้างหน้า 





     การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลเป็นวิถีทางที่ตัดสินใจร่วมกันว่า จุดเริ่มต้นในการสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลอาจไม่มากพอที่จะทำอะไรได้เป็นชิ้นเป็นอันได้ เป็นงานที่ต้องลงทุน และมีความเสี่ยงในการลงทุน เหตุผลง่ายๆคือ หลวงพ่อผิว อภิชาโต มิใช่พระเกจิอาจารย์ที่ดังทะลุฟ้า ความเป็นไปได้ที่พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านจะได้รับความนิยมและเสาะหากันอย่างกว้าง ขวาง คงต้องใช้เวลายาวนานกว่าปกติ สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติภูมิหลวงพ่อผิว อภิชาโต ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ฟื้นฟูวัดประดู่ทรงธรรมและสำนักปฏิบัติกรรมฐานกลับมารุ่งเรืองเฟื่องฟูเหมือนในอดีต และสร้างจุดเด่นที่ทำให้สำนักวัดประดู่ทรงธรรมสามารถพึ่งพาตนเองในระยะยาว ดังนั้น พระเครื่องและวัตถุมงคลทุกรายการต้องสะท้อน / แสดงออกถึงความเป็นสำนักวัดประดู่ทรงธรรม การกำหนดแนวคิดการจัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลครั้งนี้ จึงให้ความสำคัญกับ ๒ สิ่งคือ ความเป็นสำนักพุทธาคม วัดประดู่ทรงธรรม และ ความเป็นอโยธยา




      พระเครื่องและวัตถุมงคลที่จัดสร้างในวาระนี้ ประกอบด้วย ๑) บาตรน้ำมนต์พิชัยสงคราม ๒) พระขุนแผนใบพุทรา หลังรูปเหมือนหลวงพ่อผิว อภิชาโต ๓) เหรียญเสมาหลวงพ่อผิว อภิชาโต ๔) เหรียญอาร์มเล็ก รูปเหมือนหลวงพ่อผิว อภิชาโต แบบครึ่งองค์ ๕) ตะกรุดมหาจักรพรรดิ์ตราธิราช สามกษัตริย์ (ทองคำ เงิน นาค ๓ แผ่นม้วนรวมเป็นดอกเดียวกัน) ๖) ตะกรุดมหาระงับ ๗) ตะกรุดมหารูด ๘) ตะกรุดมหาละลวย ๙) ตะกรุดฉัพพรรณรังสี ๑๐) กระดาษยันต์มหาระงับ รูปหลวงพ่อผิว อภิชาโต ขนาด ๑๐x๑๔ นิ้ว ๑๑) กระดาษยันต์มหาระงับ รูปหลวงพ่อผิว อภิชาโต ขนาดพกติดกระเป๋า







       เหรียญเสมาหลวงพ่อผิว อภิชาโต หลังยันต์เฑาะรุ่นนี้ เป็นเหรียญที่ผู้สันทัดกรณีท่านหนึ่งให้ความเห็นว่า ในวันข้างหน้า ความเป็นไปได้ที่จะมีการสร้างเหรียญลักษณะนี้ คงไม่มีอีกแล้วด้วยเหตุผลที่ว่า ๑) ยอดพระเกจิอาจารย์ระดับเจ้าสำนักพุทธาคมที่มีสิริอายุเกินกว่า ๙๐ ปี ไม่มีอีกแล้ว พระเกจิอาจารย์ที่มีสิริอายุสูงกว่า ๙๐ ปี พรรษาสูงๆนั้น ยังพอหาได้ แต่พระเกจิอาจารย์ระดับเจ้าสำนักพุทธาคมที่สืบสายมาแต่ครั้งกรุงเก่า คงหามิได้อีกแล้ว ๒) เทคโนโลยีการสร้างเหรียญยุคใหม่ พัฒนาไปเป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการแกะแม่พิมพ์เหรียญเต็มรูปแบบ การเขียนด้วยวิธีการแบบดั้งเดิม คือ "แกะด้วยวิธีการแทงใบมีดบนแท่งเหล็ก" ฝีมือชั้นครูเหลือเพียงไม่กี่คน หนึ่งในนั้น คือ ช่างตุ้ม(โสภณ ศรีรุ่งเรือง) ศิลปินช่างที่ได้รับพระราชทานปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ด้านศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี 





ประวัติหลวงพ่อผิว อภิชาโต โดยสังเขป

     หลวงพ่อผิว อภิชาโต พระอธิการเจ้าสำนักวัดประดู่ทรงธรรม เป็นเจ้าอาวาสในลำดับที่ ๑๐ ของวัดประดู่ทรงธรรม โดยขึ้นดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อผิว อภิชาโต มีนามเดิมว่า "ผิว ภาคจักร" เป็นบุตรคนที่ ๕ ของนายเชย และนางพันธ์ ภาคจักร ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ที่บ้านสามขา ต.บ้านกรด อ.บางปะอิน จ.พระนครศรี อยุธยา ท่านเป็นคนบ้านเดียวกับหลวงพ่อพรห์ม ติสฺสเทโว และรู้จักมักคุ้นกันมาตั้งแต่เด็ก หลวงพ่อผิว อภิชาโต เล่าให้อาจารย์สีหวัชรฟังว่า "ตอนเด็กๆ หลวงพ่อพรห์ม ติสฺสเทโว ชอบดึงหางเปียของท่านเล่นเสมอๆ" อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๕ ปี ที่พระอุโบสถวัดใหญ่สุทธิรุจิราราม โดยมีพระครูบุญวิทยโสภณเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการชุ่ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการโดม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ย้ายมาจำพรรษาที่วัดประดู่ทรงธรรม และศึกษาพระปริยัติธรรม ณ สำนักวัดสุวรรณาราม สอบไล่ได้นักธรรมตรี จากนั้น เดินทางไปศึกษาพระเวทย์วิทยาคมกับหลวงพ่อเพียม สิริปุญโญ วัดกษัตราธิราช จนมีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในการเจริญพระกรรมฐาน แต่ไม่เคยแสดงตนให้ใครทราบว่าท่านเป็นหนึ่งในเมืองกรุงเก่า






ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเหรียญเสมาหลวงพ่อผิว อภิชาโต

     เหรียญเสมาหลวงพ่อผิว อภิชาโต เป็นเหรียญเสมาที่สร้างขึ้นโดยการล้อศิลปะเหรียญเสมาหลวงพ่อขัน อินทปญฺโญ วัดนกกระจาบ จัดเป็นเหรียญศิลปะนูนต่ำที่มีความนูนมากกว่่าเหรียญเสมาหลวงพ่อขัน อินทปญฺโญ รุ่นแรก และเหรียญเสมาหลวงพ่อพรห์ม ติสฺสเทโว นวโลหะ หลังจาร ปี ๒๕๓๐ เนื่องจากเป็นการเผื่อไว้สำหรับการลงยาและติดหน้ากากทองคำ ข้อมูลเหรียญรุ่นนี้ มีรายละเอียด ดังนี้

      ลักษณะ ด้านหน้าเป็นเหรียญเสมารูปเหมือนหลวงพ่อผิว อภิชาโต นั่งเต็มองค์ ลักษณะเดียวกับเหรียญเสมาหลวงพ่อขัน อินทปญฺโญ รุ่นแรก ใต้โต๊ะขาสิงห์ จารึกนาม "ผิว อภิชาโต" หลังเหรียญประทับด้วยยันต์เฑาะแบบหลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชโต วัดพระญาติฯ ตัวเฑาะหยักเข้าสี่ด้านและรอบด้วยพระคาถาบทหนึ่ง ด้านบนของยันต์จารึกนามวัดประดู่ทรงธรรม ใต้ยันต์เป็นอักษรสองแถว คือ "พระนครศรีอยุธยา" กับปีที่สร้าง คือ ๒๕๕๘

     เนื้อหาและจำนวนการสร้าง เหรียญเสมารุ่นนี้ ประกอบด้วย ๑๐ รายการ ดังนี้

    ๑. เหรียญเสมาทองคำ จำนวนสร้าง ๙ เหรียญ ทุกเหรียญตอกโค้ด "ผ" และหมายเลขกำกับ (ตั้งแต่เลข ๑ - ๙)





      ๒. เหรียญเสมาเงินลงยาหน้ากากทองคำ จำนวนการสร้าง ๑๙ เหรียญ ทุกเหรียญตอกโค้ดและหมายเลขกำกับ (ตั้งแต่ ๑๐ - ๒๘)




          ๓. เหรียญเสมาเงินลงยา จำนวนการสร้าง ๑๗ เหรียญ ทุกเหรียญตอกโค้ดตอกหมายเลขกำกับ (ตั้งแต่เลข ๒๙ - ๔๕) เป็นเหรียญแจกกรรมการและผู้มีอุปการะคุณ




          ๔. เหรียญเสมาเงิน จำนวนการสร้าง ๙๙ เหรียญ ทุกเหรียญตอกโค้ดหมายเลขกำกับ (ตั้งแต่เลข ๑ - ๙๙)



          ๕. เหรียญเสมานวโลหะหลังยันต์ จำนวนการสร้าง ๙๙ เหรียญ ทุกเหรียญตอกโค้ดหมาย เลขกำกับ (ตั้งแต่เลข ๑ -๙๙)




           ๖. เหรียญเสมานวโลหะหลังแบบ จำนวนการสร้าง ๙๓ เหรียญ ทุกเหรียญตอกโค้ดหมาย เลขกำกับ (ตั้งแต่เลข ๑ -๙๓)




            ๗. เหรียญเสมาสัมฤทธิ์ จำนวนการสร้าง ๑๙๙ เหรียญ ทุกเหรียญตอกโค้ดหมายเลขกำกับ (ตั้งแต่เลข ๑ - ๑๙๙)




             ๘. หรียญเสมาชิน จำนวนการสร้าง ๑๙๙ เหรียญ ทุกเหรียญตอกโค้ดหมายเลขกำกับ (ตั้งแต่เลข ๑ - ๑๙๙)



              ๙. หรียญเสมาทองแดง จำนวนการสร้าง ๕,๐๐๐ เหรียญ ทุกเหรียญตอกโค้ด หมาย เลขกำกับ (ตั้งแต่เลข ๑ - ๕,๐๐๐)




             ๑๐. เหรียญเสมาทองคำการหลั่ยทอง จำนวนการสร้าง ๒,๑๐๐ เหรียญ ทุกเหรียญตอกโค้ด หมาย เลขกำกับ (ตั้งแต่เลข ๑ - ๕,๐๐๐) ส่วนแจกงานผ้าป่าสามัคคีหนึ่งเดือนเมษยายน อีกส่วนหนึ่งช่างขอเก็บไว้แจกงานทำบุญบ้านของช่างตุ้ม(โสภณ ศรีรุ่งเรือง) 



      พิธีกรรม จัดพิธีอิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวที่พระอุโบสถ์มหาอุด ในวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๙ น. หลวงพ่อผิว อภิชาโต จุดเทียนชัย อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ดับเทียนชัย พระภิกษุวัดประดู่ทรงธรรม ๙ รูปเจริญพระพุทธมนต์






 สรุป 

      เหรียญเสมาหลวงพ่อผิว อภิชาโต รุ่นหาปัจจัยสมทบทุนบูรณะสระน้ำศักดิ์สิทธิ์/ปรับภูมิทัศน์เจดีย์พระบรมอัฐิพระเจ้าทรงธรรม เป็นเหรียญรูปเหมือนลำดับที่ ๔ ของหลวงพ่อผิว อภิชาโต ที่มีจำนวนการสร้างไม่มากนัก ลักษณะเป็นเหรียญที่มีความงดงามตระการตาตามแบบอย่างของศิลปะนูนต่ำที่แลซึ้งตา ไม่จืดไว ปัจจุบัน ยังคงความเป็นเหรียญดีราคาเบาที่พอหาได้ไม่ยากนัก แต่อนาคตอันใกล้นี้ ผู้สันทัดกรณีหลายท่านเชื่อว่าเหรียญหลักอย่างเหรียญทองคำ เหรียญเงินลงยาหน้าทอง เหรียญเงิน เหรียญนวโลหะทั้งสองแบบ มีความเป็นได้ที่จักเป็นเหรียญในตำนานพระเครื่องเมืองกรุงเก่าที่หายากยิ่งเหรียญหนึ่ง 

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

buddhasilapa เหรียญหล่อลายฉลุหลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ วัดดอนยายหอม

เหรียญหล่อลายฉลุหลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ

 วัดดอนยายหอม ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 

โดย...ชายนำ ภาววิมล...

     พระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)รองเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยที่ได้รับการนิมนต์ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกของวัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก ท่านเป็นหนึ่งในญาติกาพระนักพัฒนาแห่งสำนักวัดดอนยายหอมที่สืบต่อกันมากว่า ๘๐ ปี เริ่มจากพระราชธรรมาภรณ์(เงิน จนฺทวํโส)อดีตเจ้าอาวาสรูปที่สองของวัดดอนยายหอม พระครูเกษมธรรมานันท์(แช่ม ฐานุสฺสโก)อดีตเจ้าอาวาสรูปที่สามของวัดดอนยายหอม และพระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ) รูปและนามของพระเกจิอาจารย์นักพัฒนาทั้งสามมีส่วนในการพัฒนา สร้างสรรค์ประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสาธารณะประโยชน์ต่างๆ มาก มาย เป็นตัวแบบการพัฒนาที่มีความต่อเนื่องในการสร้างพระเกจิอาจารย์นักพัฒนารุ่นใหม่เพื่อทดแทนพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าอย่างเป็นระบบ นอกจากการถ่ายทอดสายวิชา/พุทธาคมสำนักวัดดอนยายหอมแล้ว ยังมีการมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบงานพัฒนาและกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบ สมัยที่พระราชธรรมาภรณ์(เงิน จนฺทสุวณฺโณ)ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านอบรมบ่มเพาะและเตรียมความพร้อมเพื่อให้พระครูเกษมธรรมานันท์(แช่ม ฐานุสฺสโก)ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทนท่าน รวมทั้งพระครูสมุห์อวยพร ฐิติญาโณ ให้เป็นทั้งพระเกจิอาจารย์ผู้สืบสายพุทธาคมสำนักวัดดอนยายหอมและผู้ช่วยของพระครูเกษมธรรมานันท์(แช่ม ฐานุสฺสโก)ในการบริหารจัดการและสร้างสรรค์สาธารณะประโยชน์ต่างๆ แม้นในทุกวันนี้ พระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)ยังคงยึดแนวปฏิบัติที่มีมาแต่ครั้งที่หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณโณ เป็นเจ้าอาวาสฯโดยการสร้างพระเกจิอาจารย์รุ่นใหม่อีก ๒ รูปขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แทนท่านในวันข้างหน้า พระทั้งสองรูปคือ พระมหาสุดใจ จนฺทปัญโญ(นามเดิม:สุดใจ อินทนชิตจุ้ย)และพระเอนกวิทย์(โอ๋) อนาวิโล พระทุกรูปในสาแหรกนี้ ล้วนมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทั้งสิ้น

ประวัติพระครูปฐมวราจารย์ (อวยพร ฐิติญาโณ)โดยสังเขป

   พระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)มีนามเดิมว่าอวยพร อินทนชิตจุ้ย เป็นบุตรคนที่สองของนายพ่วง(น้องชายหลวงพ่อแช่ม ฐานุสฺสโก) และนางอินทร์ อินทนชิตจุ้ย เกิดในวันพุธที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำเดือน ๒ ปีมะเมีย อุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ในปี ๒๕๐๖ ต่อมาปี ๒๕๑๑ สอบไล่ได้"นักธรรมเอก" ปี ๒๕๑๔ หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ แต่งตั้งท่านให้เป็นพระฐานานุกรมตำแหน่ง "พระครูใบฎีกา" ปี ๒๕๑๕ เป็น "พระครูสมุห์อวยพร ฐิติญาโณ"และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ปี ๒๕๒๑ เป็นพระสังฆาธิการและพระกรรมวาจาจารย์ ปี ๒๕๔๕ เป็นพระครูสังฆรักษ์อวยพร ฐิติญาโณ ฐานานุกรมของพระธรรมเสนานี(ชุณห์)วัดวังตะกู เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ปี ๒๕๕๒ เป็นเจ้าคณะตำบลดอนยายหอม ปี ๒๕๕๕ เป็นพระอุปัชฌาย์ ปี ๒๕๕๘ เป็นเจ้าคณะตำบลชั้นโท มีสมณศักดิ์เป็น"พระครูปฐมวราจารย์" 






ประวัติความเป็นมาและภูมิหลังในการสร้างเหรียญหล่อลายฉลุหลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ



   เหรียญหล่อลายฉลุพระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)เป็นเหรียญหล่อลายฉลุที่นายชายนำ ภาววิมล ลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อแช่ม ฐานุสฺสโก ซึ่งเป็นผู้สร้างพระกริ่งยอดขุนพล, พระบัวเข็ม, พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก, เหรียญหล่อ ๗๙ ถวายพระครูเกษม ธรรมานันท์(แช่ม ฐานุสฺสโก)ในปี ๒๕๒๖-๗ และเหรียญปฐมนคราศรีมหาทวารวดี(หลวงพ่อศิลาขาว)ถวายหลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ ในปี ๒๕๕๓ เป็นผู้ขออนุญาตจัดสร้างโดยมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ

     ๑. เพื่อสร้างสรรค์งานพุทธประณีตศิลป์ในรูปแบบของเหรียญหล่อลายฉลุ
     ๒. นำปัจจัยที่ได้จากการเปิดให้จองเหรียญหล่อลายฉลุฯ รุ่นนี้ เป็นทุนตั้งต้นในการตั้งมูลนิธิ(อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาตั้งชื่อและร่างระเบียบมูลนิธิฯ)และดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงวัย ภายใต้กรอบแนวคิด "Liberal Ageing: สูงวัยอย่างมีคุณค่า" มูลนิธินี้ มิใช่กิจเพื่อการสงเคราะห์ผู้สูงวัย แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยสามารถใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอดชีวิตให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีอิสระในการทำงานหรือแสวงหาความสุขกับงานที่ตนชอบ/ไม่มีโอกาสได้ทำในวัยหนุ่มสาวอันเป็นผลสืบเนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงวัยที่ด้อยโอกาสสามารถพึ่งพาตนเองและอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่าและสมศักดิ์ศรี



       


กรอบแนวคิด Liberal Ageing: สูงวัยอย่างมีคุณค่า

     แนวคิด Liberal Ageing:สูงวัยอย่างมีคุณค่า เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจที่เห็นผู้สูงวัยจำนวนหนึ่งต้องอยู่บ้านคนเดียวด้วยความเงียบเหงา ต้องรอคอยลูกหลานเก็บจากการทำ งานด้วยความว้าเหว่ ด้วยความห่วงใย และความรู้สึกอื่นที่ยากจักบรรยาย เป็นอย่างนี้ วันนั้นวันเล่า จากคนที่สุขภาพจิตสมบูรณ์ ค่อยๆเสื่อมถอย กลายเป็นคนซึมเศร้า หงอยเหงา เศร้าซึม ขี้หลงขี้ลืม สังขารเสื่อม โทรมไปจนกลายเป็นคนที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ในสถานที่อีกแห่งหนึ่ง คนชราในสงเคราะห์คนชรา/โรงพยาบาลที่รับเลี้ยงและดูแลคนชรา ภาพผู้สูงวัยที่สังขารและจิตเสื่อมถอยจนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ได้แต่นอนรอเวลา เวลาที่ตะเกียงชีวิตดวงน้อยจะดับลง เป็นภาพที่น่าสลดใจอย่างยิ่ง ใจหนึ่งจินตนาการไปว่ามีวิธีการใดที่จะช่วยยืดเวลาให้ตะเกียงชีวิตแต่ละดวงยังสามารถเปล่งแสงให้ยาวนานออกไป ให้ผู้สูงวัยแต่ละคนมีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง มีความรู้ สึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถอยู่ในสังคมปัจจุบันอย่างมีความสุขและมีศักดิ์ศรี    "Liberal Ageing"เป็นการมองโลกในเชิงบวก เป็นการมองโลกในมุมกลับ โดยการสร้างค่านิยมร่วมว่า"วัยชรามิใช่เวลาที่รอวันดับสูญ มิใช่รอวันที่จำต้องจากไป แต่เป็นวัยที่พ้นจากพันธการต่างๆ เป็นวัยที่มีความพร้อมในการนำความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอดทั้งชีวิตในการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อตน ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ เป็นวัยที่มีอิสระในการทำในสิ่งที่อยากทำแต่ไม่สามารถทำได้ในวัยรุ่นสาวเพราะต้องทำเพื่อคนรอบข้าง เมื่อคนรอบข้างเจริญเติบโตและสามารถพึ่งพาตนเองได้แล้ว ก็เป็นเวลาที่เราจักทำอะไรต่อมิอะไรในสิ่งที่เราชอบเสียที ผู้สูงวัยสามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งมีพลังมากเกินพอในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามและกับตนเองและคนรอบข้าง    แรงบันดาลใจเป็นบาทฐานที่นำไปสู่ความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์คุณค่าและประโยชน์สุขให้กับตนเองที่กำลังจักก้าวไปสู่การเป็นผู้สูงวัยในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ทั้งกว้างไกลไปถึงการเป็นจักรกลเล็กๆ ที่ขับเคลื่อนและนำพาผู้สูงวัยส่วนหนึ่งให้ท่องไปในดินแกนที่เป็นอิสระ ปลอดจากพันธนาที่เป็นโซ่ตรวนของชีวิต เราไม่ใช่คนแก่ที่เฝ้ารอลูกหลานกลับบ้านด้วยความเงียบ เหงา แต่เป็นคนที่สามารถพึ่งพาตนเอง มีคุณค่า มีความสุขที่แท้จริง และอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี


เหรียญหล่อลายฉลุ : ทุนตั้งต้นจากเมตตาจิตของพระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)

    ลักษณะเหรียญหล่อลายฉลุพระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)วัดดอนยายหอม เป็นเหรียญหล่อที่สร้างขึ้นโดยการล้อศิลปะเหรียญหล่อลายฉลุหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ปรับประยุกต์ให้มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ด้านหน้าเป็นรูปจำลองพระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)นั่งในกรอบเหรียญฉลุลายไทย โดยวางรูปให้มีช่องไฟ(Space)ที่พอเหมาะและสวยงาม ด้านล่างของเหรียญจารึกนามพระครูปฐมวราจารย์ "อวยพร" ด้านยันต์ประทับด้วยยันต์หลักของสำนักวัดดอนยายหอม คือ ยันต์นะทรหด(ยันต์หลังเหรียญรุ่นแรกของหหลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ)และยันต์"มินะนะ"(ยันต์หลังพระชินราชพิมพ์เข่าลอย หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ)ใต้ยันต์จารึกอักษร ๓ แถว ประกอบด้วย"พระครูปฐมวราจารย์", "วัดดอนยายหอม", "นครปฐม" ขนาบด้วยเลข ๗ และ ๕ หมายถึงอายุของท่าน ด้านล่างจารึกจตุรพิธพรชัยพร้อมปีที่สร้างดังนี้ "อายุ วรรณะ ๒๕๕๙ สุขะ พละ"
     

     เนื้อหา กำหนดเนื้อหาในการสร้าง รวม ๘ เนื้อ


     ๑.เหรียญทองคำ สร้างเท่าจำนวนสั่งจอง แต่ไม่เกิน ๓๒ เหรียญ





     ๒.เหรียญเงิน จำนวนการสร้าง ๑๒๔ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๔๙ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๑๒๔



เหรียญหล่อลายฉลุหลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ รุ่นแรก ชุดกรรมการ เนื้อเงิน ด้านหน้า

เหรียญหล่อลายฉลุหลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ รุ่นแรก ชุดกรรมการ เนื้อเงิน ด้านหลัง ตอกโค้ดสองโค้ด



     ๓.เหรียญนวโลหะ จำนวนการสร้าง ๑๒๔ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๔๙ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๑๒๔








     ๔.เหรียญสัมฤทธิ์ จำนวนการสร้าง ๒๗๕ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๒๐๐ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๒๗๕







     ๕.เหรียญทองแดงกาหลั่ยทอง จำนวนการสร้าง ๑๗๕ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๒๐๐ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๑๗๕







     ๖.เหรียญทองแดง จำนวนการสร้าง ๒๗๕ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๒๐๐ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๒๗๕






     ๗.เหรียญทองเหลือง จำนวนการสร้าง ๒๗๕ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๒๐๐ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๒๗๕





     ๘.เหรียญเนื้อชิน จำนวนการสร้าง ๑๗๕ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๑๐๐ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๑๗๕




   
     ๙.เหรียญรวมชนวน ๓๒ เหรียญ


     ๑๐.เหรียญพิเศษเนื้อชนวนลานโพธิ์ จำนวนสร้าง ๒๐๐ เหรียญ



    

     กำหนดการสั่งจอง ๖ กุมภาพันธ์ - ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙

     กำหนดการเททอง ประมาณเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๙

     พิธีกรรม จัดพิธีฯ ตามแบบอย่างที่มีมาแต่ครั้งหลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณโณ

     กำหนดการรับเหรียญ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙

     สถานที่สั่งจอง ตามรายละเอียดที่ปรากฎในภาพด้านล่าง


     การสั่งจอง/บูชาเหรียญหล่อลายฉลุพระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)นอกจากประโยชน์ปัจจุบันที่ได้เหรียญฯ เป็นที่ระลึกหรือนำไปห้อยคอติดตัวแล้ว ประโยชน์ในภายหน้าคือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโอกาสให้สังคมไทยที่จะเป็นสังคมผู้สูงวัยเต็มรูปแบบในไม่กี่ปีข้างหน้า เป็นสังคมที่ผู้สูงวัยมีความสามารถพึ่งพาตนเองและสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า/มีศักดิ๋ศรี ประโยชน์สูงสุดคือเป็นการสร้างกุศลตามแนวทางของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาและตามรอยวิถีการพัฒนาของญาติกานักพัฒนาแห่งดอนยายหอม