วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

buddhasilapa เหรียญหล่อลายฉลุหลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ วัดดอนยายหอม

เหรียญหล่อลายฉลุหลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ

 วัดดอนยายหอม ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 

โดย...ชายนำ ภาววิมล...

     พระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)รองเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยที่ได้รับการนิมนต์ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกของวัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก ท่านเป็นหนึ่งในญาติกาพระนักพัฒนาแห่งสำนักวัดดอนยายหอมที่สืบต่อกันมากว่า ๘๐ ปี เริ่มจากพระราชธรรมาภรณ์(เงิน จนฺทวํโส)อดีตเจ้าอาวาสรูปที่สองของวัดดอนยายหอม พระครูเกษมธรรมานันท์(แช่ม ฐานุสฺสโก)อดีตเจ้าอาวาสรูปที่สามของวัดดอนยายหอม และพระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ) รูปและนามของพระเกจิอาจารย์นักพัฒนาทั้งสามมีส่วนในการพัฒนา สร้างสรรค์ประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสาธารณะประโยชน์ต่างๆ มาก มาย เป็นตัวแบบการพัฒนาที่มีความต่อเนื่องในการสร้างพระเกจิอาจารย์นักพัฒนารุ่นใหม่เพื่อทดแทนพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าอย่างเป็นระบบ นอกจากการถ่ายทอดสายวิชา/พุทธาคมสำนักวัดดอนยายหอมแล้ว ยังมีการมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบงานพัฒนาและกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบ สมัยที่พระราชธรรมาภรณ์(เงิน จนฺทสุวณฺโณ)ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านอบรมบ่มเพาะและเตรียมความพร้อมเพื่อให้พระครูเกษมธรรมานันท์(แช่ม ฐานุสฺสโก)ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทนท่าน รวมทั้งพระครูสมุห์อวยพร ฐิติญาโณ ให้เป็นทั้งพระเกจิอาจารย์ผู้สืบสายพุทธาคมสำนักวัดดอนยายหอมและผู้ช่วยของพระครูเกษมธรรมานันท์(แช่ม ฐานุสฺสโก)ในการบริหารจัดการและสร้างสรรค์สาธารณะประโยชน์ต่างๆ แม้นในทุกวันนี้ พระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)ยังคงยึดแนวปฏิบัติที่มีมาแต่ครั้งที่หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณโณ เป็นเจ้าอาวาสฯโดยการสร้างพระเกจิอาจารย์รุ่นใหม่อีก ๒ รูปขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แทนท่านในวันข้างหน้า พระทั้งสองรูปคือ พระมหาสุดใจ จนฺทปัญโญ(นามเดิม:สุดใจ อินทนชิตจุ้ย)และพระเอนกวิทย์(โอ๋) อนาวิโล พระทุกรูปในสาแหรกนี้ ล้วนมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทั้งสิ้น

ประวัติพระครูปฐมวราจารย์ (อวยพร ฐิติญาโณ)โดยสังเขป

   พระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)มีนามเดิมว่าอวยพร อินทนชิตจุ้ย เป็นบุตรคนที่สองของนายพ่วง(น้องชายหลวงพ่อแช่ม ฐานุสฺสโก) และนางอินทร์ อินทนชิตจุ้ย เกิดในวันพุธที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำเดือน ๒ ปีมะเมีย อุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ในปี ๒๕๐๖ ต่อมาปี ๒๕๑๑ สอบไล่ได้"นักธรรมเอก" ปี ๒๕๑๔ หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ แต่งตั้งท่านให้เป็นพระฐานานุกรมตำแหน่ง "พระครูใบฎีกา" ปี ๒๕๑๕ เป็น "พระครูสมุห์อวยพร ฐิติญาโณ"และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ปี ๒๕๒๑ เป็นพระสังฆาธิการและพระกรรมวาจาจารย์ ปี ๒๕๔๕ เป็นพระครูสังฆรักษ์อวยพร ฐิติญาโณ ฐานานุกรมของพระธรรมเสนานี(ชุณห์)วัดวังตะกู เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ปี ๒๕๕๒ เป็นเจ้าคณะตำบลดอนยายหอม ปี ๒๕๕๕ เป็นพระอุปัชฌาย์ ปี ๒๕๕๘ เป็นเจ้าคณะตำบลชั้นโท มีสมณศักดิ์เป็น"พระครูปฐมวราจารย์" 






ประวัติความเป็นมาและภูมิหลังในการสร้างเหรียญหล่อลายฉลุหลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ



   เหรียญหล่อลายฉลุพระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)เป็นเหรียญหล่อลายฉลุที่นายชายนำ ภาววิมล ลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อแช่ม ฐานุสฺสโก ซึ่งเป็นผู้สร้างพระกริ่งยอดขุนพล, พระบัวเข็ม, พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก, เหรียญหล่อ ๗๙ ถวายพระครูเกษม ธรรมานันท์(แช่ม ฐานุสฺสโก)ในปี ๒๕๒๖-๗ และเหรียญปฐมนคราศรีมหาทวารวดี(หลวงพ่อศิลาขาว)ถวายหลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ ในปี ๒๕๕๓ เป็นผู้ขออนุญาตจัดสร้างโดยมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ

     ๑. เพื่อสร้างสรรค์งานพุทธประณีตศิลป์ในรูปแบบของเหรียญหล่อลายฉลุ
     ๒. นำปัจจัยที่ได้จากการเปิดให้จองเหรียญหล่อลายฉลุฯ รุ่นนี้ เป็นทุนตั้งต้นในการตั้งมูลนิธิ(อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาตั้งชื่อและร่างระเบียบมูลนิธิฯ)และดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงวัย ภายใต้กรอบแนวคิด "Liberal Ageing: สูงวัยอย่างมีคุณค่า" มูลนิธินี้ มิใช่กิจเพื่อการสงเคราะห์ผู้สูงวัย แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยสามารถใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอดชีวิตให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีอิสระในการทำงานหรือแสวงหาความสุขกับงานที่ตนชอบ/ไม่มีโอกาสได้ทำในวัยหนุ่มสาวอันเป็นผลสืบเนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงวัยที่ด้อยโอกาสสามารถพึ่งพาตนเองและอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่าและสมศักดิ์ศรี



       


กรอบแนวคิด Liberal Ageing: สูงวัยอย่างมีคุณค่า

     แนวคิด Liberal Ageing:สูงวัยอย่างมีคุณค่า เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจที่เห็นผู้สูงวัยจำนวนหนึ่งต้องอยู่บ้านคนเดียวด้วยความเงียบเหงา ต้องรอคอยลูกหลานเก็บจากการทำ งานด้วยความว้าเหว่ ด้วยความห่วงใย และความรู้สึกอื่นที่ยากจักบรรยาย เป็นอย่างนี้ วันนั้นวันเล่า จากคนที่สุขภาพจิตสมบูรณ์ ค่อยๆเสื่อมถอย กลายเป็นคนซึมเศร้า หงอยเหงา เศร้าซึม ขี้หลงขี้ลืม สังขารเสื่อม โทรมไปจนกลายเป็นคนที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ในสถานที่อีกแห่งหนึ่ง คนชราในสงเคราะห์คนชรา/โรงพยาบาลที่รับเลี้ยงและดูแลคนชรา ภาพผู้สูงวัยที่สังขารและจิตเสื่อมถอยจนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ได้แต่นอนรอเวลา เวลาที่ตะเกียงชีวิตดวงน้อยจะดับลง เป็นภาพที่น่าสลดใจอย่างยิ่ง ใจหนึ่งจินตนาการไปว่ามีวิธีการใดที่จะช่วยยืดเวลาให้ตะเกียงชีวิตแต่ละดวงยังสามารถเปล่งแสงให้ยาวนานออกไป ให้ผู้สูงวัยแต่ละคนมีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง มีความรู้ สึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถอยู่ในสังคมปัจจุบันอย่างมีความสุขและมีศักดิ์ศรี    "Liberal Ageing"เป็นการมองโลกในเชิงบวก เป็นการมองโลกในมุมกลับ โดยการสร้างค่านิยมร่วมว่า"วัยชรามิใช่เวลาที่รอวันดับสูญ มิใช่รอวันที่จำต้องจากไป แต่เป็นวัยที่พ้นจากพันธการต่างๆ เป็นวัยที่มีความพร้อมในการนำความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอดทั้งชีวิตในการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อตน ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ เป็นวัยที่มีอิสระในการทำในสิ่งที่อยากทำแต่ไม่สามารถทำได้ในวัยรุ่นสาวเพราะต้องทำเพื่อคนรอบข้าง เมื่อคนรอบข้างเจริญเติบโตและสามารถพึ่งพาตนเองได้แล้ว ก็เป็นเวลาที่เราจักทำอะไรต่อมิอะไรในสิ่งที่เราชอบเสียที ผู้สูงวัยสามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งมีพลังมากเกินพอในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามและกับตนเองและคนรอบข้าง    แรงบันดาลใจเป็นบาทฐานที่นำไปสู่ความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์คุณค่าและประโยชน์สุขให้กับตนเองที่กำลังจักก้าวไปสู่การเป็นผู้สูงวัยในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ทั้งกว้างไกลไปถึงการเป็นจักรกลเล็กๆ ที่ขับเคลื่อนและนำพาผู้สูงวัยส่วนหนึ่งให้ท่องไปในดินแกนที่เป็นอิสระ ปลอดจากพันธนาที่เป็นโซ่ตรวนของชีวิต เราไม่ใช่คนแก่ที่เฝ้ารอลูกหลานกลับบ้านด้วยความเงียบ เหงา แต่เป็นคนที่สามารถพึ่งพาตนเอง มีคุณค่า มีความสุขที่แท้จริง และอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี


เหรียญหล่อลายฉลุ : ทุนตั้งต้นจากเมตตาจิตของพระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)

    ลักษณะเหรียญหล่อลายฉลุพระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)วัดดอนยายหอม เป็นเหรียญหล่อที่สร้างขึ้นโดยการล้อศิลปะเหรียญหล่อลายฉลุหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ปรับประยุกต์ให้มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ด้านหน้าเป็นรูปจำลองพระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)นั่งในกรอบเหรียญฉลุลายไทย โดยวางรูปให้มีช่องไฟ(Space)ที่พอเหมาะและสวยงาม ด้านล่างของเหรียญจารึกนามพระครูปฐมวราจารย์ "อวยพร" ด้านยันต์ประทับด้วยยันต์หลักของสำนักวัดดอนยายหอม คือ ยันต์นะทรหด(ยันต์หลังเหรียญรุ่นแรกของหหลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ)และยันต์"มินะนะ"(ยันต์หลังพระชินราชพิมพ์เข่าลอย หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ)ใต้ยันต์จารึกอักษร ๓ แถว ประกอบด้วย"พระครูปฐมวราจารย์", "วัดดอนยายหอม", "นครปฐม" ขนาบด้วยเลข ๗ และ ๕ หมายถึงอายุของท่าน ด้านล่างจารึกจตุรพิธพรชัยพร้อมปีที่สร้างดังนี้ "อายุ วรรณะ ๒๕๕๙ สุขะ พละ"
     

     เนื้อหา กำหนดเนื้อหาในการสร้าง รวม ๘ เนื้อ


     ๑.เหรียญทองคำ สร้างเท่าจำนวนสั่งจอง แต่ไม่เกิน ๓๒ เหรียญ





     ๒.เหรียญเงิน จำนวนการสร้าง ๑๒๔ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๔๙ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๑๒๔



เหรียญหล่อลายฉลุหลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ รุ่นแรก ชุดกรรมการ เนื้อเงิน ด้านหน้า

เหรียญหล่อลายฉลุหลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ รุ่นแรก ชุดกรรมการ เนื้อเงิน ด้านหลัง ตอกโค้ดสองโค้ด



     ๓.เหรียญนวโลหะ จำนวนการสร้าง ๑๒๔ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๔๙ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๑๒๔








     ๔.เหรียญสัมฤทธิ์ จำนวนการสร้าง ๒๗๕ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๒๐๐ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๒๗๕







     ๕.เหรียญทองแดงกาหลั่ยทอง จำนวนการสร้าง ๑๗๕ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๒๐๐ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๑๗๕







     ๖.เหรียญทองแดง จำนวนการสร้าง ๒๗๕ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๒๐๐ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๒๗๕






     ๗.เหรียญทองเหลือง จำนวนการสร้าง ๒๗๕ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๒๐๐ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๒๗๕





     ๘.เหรียญเนื้อชิน จำนวนการสร้าง ๑๗๕ เหรียญ อยู่ในชุดกรรมการ ๗๕ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๑ - ๗๕ แยกเดี่ยว ๑๐๐ เหรียญ ตอกหมายเลขกำกับตั้งแต่ ๗๖ - ๑๗๕




   
     ๙.เหรียญรวมชนวน ๓๒ เหรียญ


     ๑๐.เหรียญพิเศษเนื้อชนวนลานโพธิ์ จำนวนสร้าง ๒๐๐ เหรียญ



    

     กำหนดการสั่งจอง ๖ กุมภาพันธ์ - ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙

     กำหนดการเททอง ประมาณเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๙

     พิธีกรรม จัดพิธีฯ ตามแบบอย่างที่มีมาแต่ครั้งหลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณโณ

     กำหนดการรับเหรียญ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙

     สถานที่สั่งจอง ตามรายละเอียดที่ปรากฎในภาพด้านล่าง


     การสั่งจอง/บูชาเหรียญหล่อลายฉลุพระครูปฐมวราจารย์(อวยพร ฐิติญาโณ)นอกจากประโยชน์ปัจจุบันที่ได้เหรียญฯ เป็นที่ระลึกหรือนำไปห้อยคอติดตัวแล้ว ประโยชน์ในภายหน้าคือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโอกาสให้สังคมไทยที่จะเป็นสังคมผู้สูงวัยเต็มรูปแบบในไม่กี่ปีข้างหน้า เป็นสังคมที่ผู้สูงวัยมีความสามารถพึ่งพาตนเองและสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า/มีศักดิ๋ศรี ประโยชน์สูงสุดคือเป็นการสร้างกุศลตามแนวทางของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาและตามรอยวิถีการพัฒนาของญาติกานักพัฒนาแห่งดอนยายหอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น